วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2551

พระโสภณนนทสาร เจ้าอาวาสวัดบางไผ่พระอารามหลวง

ประวัติพระโสภณนนทสาร(บุญเลิศ สิงหรา ณ อยุธยา)


เกิดวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๓ อายุ ๕๗ ปี พรรษา ๓๗

ชื่อ พระโสภณนนทสาร น.ธ. เอก วัดบางไผ่ ตำบลบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ปัจจุบันดำเรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดบางไผ่ และประธานหน่วย อบรมประชาชนประจำตำบลบางรักใหญ่
สถานะเดิม ชื่อ บุญเลิศ สิงหรา เกิดวันอังคาร ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๘ ปีขาล ตรงกับ วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๓
บิดา หม่อมหลวงชายบุญ สิงหรา
มารดา นางฉาย สิงหรา บ้านเลขที่ ๓๐ หมู่ที่ ๓ ตำบลไทรใหญ่ อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
บรรพชา
เมื่อวันศุกร์ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๕ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๖ วันไทรใหญ่ ตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี พระอุปัชฌาย์ พระครูพิทักษ์นนทเขต วัดไทรใหญ่ ตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
อุปสมบท
เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๓ ณ วัดบางไผ่ ตำบลบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี พระอุปัชฌาย์ พระปรีชานนทมุนี (พร ปวโร) วัดประชารังสรรค์ ตำบลบางกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี พระกรรมวาจาจารย์ พระครูนนทญาณวิสุทธิ์ (เปล่ง ญาณมุตฺตโม) เจ้าอาวาสวัดบางไผ่ ตำบลบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี พระอนุสาวนาจารย์ พระครูนนทโมลี (เปลื้อง สิริโสภณ) รองเจ้าอาวาส จังหวัดนนทบุรี เจ้าอาวาสวัดโมลี ตำบลบางรักใหญ่ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
วิทยฐานะ
พ.ศ.๒๕๐๕ สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ โรงเรียนวัดปลายคลองขุนศรี อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
พ.ศ.๒๕๑๒ สอบได้นักธรรมชั้นตรี สำนักเรียนวัดบางไผ่ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
พ.ศ.๒๕๑๓ สอบได้นักธรรมชั้นโท สำนักเรียนวัดบางไผ่ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
พ.ศ.๒๕๑๔ สอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดบางไผ่ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
การศึกษาพิเศษ
มีความรู้พิเศษเกี่ยวกับงานไฟฟ้า, เครื่องเสียง และเครื่องยนต์
ความชำนาญการ มีความชำนาญการในงานก่อสร้าง
งานปกครอง
พ.ศ.๒๕๑๘ ได้รับแต่งตั้งรักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางไผ่ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
พ.ศ.๒๕๑๙ ไดัรับแต่งตั้งเป็นพระกรรมวาจาจารย์
พ.ศ.๒๕๑๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางไผ่ ตำบลบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี จนถึงปัจจุบัน
พ.ศ.๒๕๒๐ ได้รับแต่ตั้งเป็นประธานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล บางรักใหญ่ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
พ.ศ.๒๕๓๔ ได้รับแต่งตั้งจากกรมศาสนา เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๔ เป็นพระปริยัตินิเทศก์จังหวัดนนทบุรี
พ.ศ.๒๕๓๗ มีภิกษุ ๕๔ รูป สามเณร ๕๗ รูป ศิษย์วัด ๓๖ คน อารามิกชน ๓ คน
พ.ศ.๒๕๓๘ มีภิกษุ ๖๓ รูป สามเณร ๕๕ รูป ศิษย์วัด ๔๐ คน อารามิกชน ๓ คน
พ.ศ.๒๕๓๙ มีภิกษุ ๗๒ รูป สามเณร ๓๐ รูป ศิษย์วัด ๑๒ คน อารามิกชน ๓ คน
มีการทำอุโบสถกรรม (สวดปาฏิโมกข์) ตลอดปี มีพระภิกษุสวดปาฏิโมกข์ได้ จำนวน ๕ รูป
มีการทำวัตรสวดมนต์ เช้า - เย็น เป็นประจำตลอดปี
มีระเบียบการปกครองวัดตามพระธรรมวินัย และกฎระเบียบมหาเถรสมาคม
มีกติกาของวัด คือ
๑. ภิกษุสามเณร ที่อยู่ในวัดต้องพร้อมเพรียงกัน ทำกิจกรรมนั้น จนสำเร็จ
๒. เมื่อมีกิจที่จะต้องออกจากวัด ต้องบอกลาเจ้าอาวาส หรือ รองเจ้าอาวาสทุกครั้ง
๓. ภิกษุ สามเณรที่อยู่ในวัด จะต้องศึกษาเล่าเรียน พระปริยัติธรรม หรือบาลี
๔. ห้ามจับสัตรว์น้ำในเขตอภัยทาน
๕. ห้ามผู้ใดผู้หนึ่ง นำสุรา และของมึนเมาทุกชนิด เข้ามาดื่มในเขตวัดอย่างเด็ดขาด
๖. ช่วยกันบำรุงรักษาสาธารณประโยชน์ของวัด
๗. ห้ามนำบุคคลอื่นเข้าพักอาศัย โดยมิได้รับคำอนุญาต จากเจ้าอาวาส
งานด้านศึกษา
พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ประจำสำนักศาสนศึกษา วัดบางไผ่ เป็นผู้อุปการะโรงเรียนชุมชนวัดบางไผ่
พ.ศ.๒๕๓๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสนามหลวงแผนกธรรม
การจัดการศึกษา
วัดบางไผ่ได้เริ่มเปิดการสอนพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกธรรม และแผนกบาลี มาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๑ จนถึงปัจจุบัน พอสรุปได้ดังนี้

พ.ศ.๒๕๓๗ มีนักเรียนนักธรรมชั้นตรี จำนวน ๑๕ รูป เข้าสอบ ๑๕ รูป สอบได้ ๑๐ รูป
มีนักเรียนนักธรรมชั้นโท จำนวน ๑๒ รูป เข้าสอบ ๑๒ รูป สอบได้ ๙ รูป
มีนักเรียนนักธรรมชั้นเอก จำนวน ๑๙ รูป เข้าสอบ ๑๙ รูป สอบได้ ๑๘ รูป
มีนักเรียนบาลี ประโยค ๑-๒ จำนวน ๒๔ รูป เข้าสอบ ๒๔ รูป สอบได้ ๑๘ รูป
มีนักเรียนบาลี ประโยค ๓ จำนวน ๙ รูป เข้าสอบ ๙ รูป สอบได้ ๖ รูป
มีนักเรียนบาลี ประโยค ๔ จำนวน ๙ รูป เข้าสอบ ๙ รูป สอบได้ ๓ รูป
มีนักเรียนบาลี ประโยค ๕ จำนวน ๘ รูป เข้าสอบ ๘ รูป สอบได้ ๕ รูป
มีนักเรียนบาลี ประโยค ๖ จำนวน ๒ รูป เข้าสอบ ๒ รูป สอบได้ - รูป

พ.ศ.๒๕๓๘ มีนักเรียนนักธรรมชั้นตรี จำนวน ๒๔ รูป เข้าสอบ๒๔๙ รูป สอบได้ ๑๐ รูป
มีนักเรียนนักธรรมชั้นโท จำนวน ๙ รูป เข้าสอบ ๙ รูป สอบได้ ๓ รูป
มีนักเรียนนักธรรมชั้นเอก จำนวน ๙ รูป เข้าสอบ ๙ รูป สอบได้ ๖ รูป
มีนักเรียนบาลี ประโยค ๖ จำนวน ๖ รูป เข้าสอบ ๖ รูป สอบได้ ๓ รูป
มีนักเรียนบาลี ประโยค ๗ จำนวน ๒ รูป เข้าสอบ ๒ รูป สอบได้ ๑ รูป

วิธีการส่งเสริมการศึกษา
ได้ส่งเสริมการศึกษาวิธีต่างๆ ดังนี้
๑. จัดตั้งกองทุนมูลนิธิเพื่อการศึกษา โดยนำ ผลประโยชน์ของมูลนิธิมาส่งเสริม ในเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษา เช่น
- บริการจัดหาเครื่องเขียนแบบเรียน
- จัดหาอุปกรณ์การเรียน เช่น ชอล์ค รวมทั้ง สื่อการสอนต่างๆ
- การศึกษานอกสถานที่
- ค่าใช้จ่ายในการเข้าอบรมก่อนสอบ
๒. ส่งเสริมโดยการสร้างขวัญ และ กำลังใจ โดยการจัดตั้งรางวัลสำหรับนักเรียน และครูผู้สอน แยกประเภท ดังนี้
ก. รางวัลสำหรับนักเรียน มี ๓ ประเภท
๑. รางวัลคะแนนยอดเยี่ยม สำหรับผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด ของสนามสอบ และสำนักเรียน
๒. รางวัลผู้ขยัน สำหรับผู้ที่มีความตั้งใจเรียน จนสามารถสอบไล่ได้
๓. รางวัลหมั่นเรียน สำหรับผู้ที่ไม่เคยขาดเรียนเลย
๔. มอบรางวัลแก่ผู้สมัครสอบสนามหลวงทุกองค์
ข. รางวัลสำหรับครูสอน ให้คิดเป็นรายวิชา ต้องมีนักเรียน สอบได้ ร้อยละ ๘๐ ของผู้สมัครสอบ
๓. ปรับปรุงการเรียน การสอน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูง โดยใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยี เช่น วีดีโอเทป สไลด์ คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย มาช่วยในการสอน


โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดบางไผ่พระอารามหลวง